จําหน่ายอาวุธปืนนอกแท้นําเข้า

ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง

ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง


         


คําว่า “ปืน” ตามกฎหมายถือว่าเป็นอาวุธโดยสภาพ อาวุธปืนจึงหมายถึง “เครื่องมือที่ใช้ยิงไปทําอันตรายต่อร่างกายให้ถึงสาหัสได้” ความหมายช่างสั้นแต่ อานุภาพหรือพิษสงของมันนี่สิครับ... รุนแรงและร้ายกาจที่สุดเพราะมันสามารถปลิดชีวิตของมนุษย์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายเพียงแค่กระดิกการลั่นไกเท่านั้น ชีวิตของมนุษย์หรือจะเป็นใครมาจากไหน...ก็จะเหลือเพียงชื่อ...เท่านั้น แต่นั่นซิครับ...ถึงแม้ว่ามันจะน่ากลัวในสายตาของคนทั่วๆ ไป มันก็ยังมีประโยชน์อย่างมากมาย หากเรานํามันมาใช้อย่างถูกวิธีและอย่างสันติ ดังนั้นกฎหมายจึงจําเป็นที่จะต้องบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องของอาวุธปืนไว้เพื่อปกป้องและป้องกันผู้กระทําการโดยสุจริต เพื่อมิให้ถูกรังแกจากผู้ไม่ประสงค์ดี ตามที่พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้กําหนดให้เป็นกฎหมายบังคับใช้มาจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความนิยมชมชอบ หรือมีความจําเป็นต้องเกี่ยวข้องกับ “อาวุธปืน” ดังนั้นจึงควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายหลายๆ ดังนั้นหากท่านมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วท่านมีความผิดแน่นอน... เพราะอาวุธปืนที่ท่านครอบครองอยู่เรียกว่า “ปืนเถื่อน” เมื่อเป็นดังนี้จะทำเช่นไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย
คําถามแรกที่จะกล่าวคือ ประชาชนทั่วไปจะมีและใช้อาวุธปืนต้องขออนุญาตอย่างไรก่อนที่ท่านจะซื้ออาวุธปืนมาครอบครองหรือรับการโอนอาวุธปืนจากผู้อื่น ท่านจะต้องยื่นเรื่องราวขออนุญาตต่อนายทะเบียนอาวุธปืนเสียก่อน สําหรับท่านที่มีภูมิลําเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ก็ให้ยื่นเรื่องขออนุญาตที่ แผนกอาวุธปืน กองทะเบียน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่วนท่านที่ มีภูมิลําเนาอยู่ต่างจังหวัดให้ขอที่นายอําเภอท้องที่นั้นๆ  เอกสารที่ต้องนําเอาไปเพื่อประกอบการพิจารณาการขออนุญาต ได้แก่ สําเนาทะเบียนบ้าน สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนหรือ ท่านที่ประกอบอาชีพรับราชการ ต้องนําสําเนาบัตรประจําตัวข้าราชการไปด้วย ส่วนวิธีการและการดําเนินการในการยื่นคําขออนุญาตในแบบพิมพ์ ป.๑ และเมื่อนายทะเบียนท้องที่ได้พิจารณาอนุญาตแล้ว จะออกใบอนุญาตให้ท่านตามแบบพิมพ์ ป.๓ ซึ่งเรียกว่า “ใบอนุญาตให้ซื้อหรือการรับโอน” โดยในแบบพิมพ์นั้นจะระบุไว้ว่าอนุญาตให้ท่านไปซื้ออาวุธปืนจากที่ไหน หรือให้รับโอนกรรมสิทธิ์การครอบครองอาวุธปืนจากผู้ใด เมื่อท่านได้รับในอนุญาตจากทางราชการกําหนดไว้ หรือรับการโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ใด เมื่อท่านได้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้วท่านต้องดําเนินการจัดซื้อหรือรับโอนอาวุธปืนให้เสร็จสิ้นภายใน ๖ เดือน (๑๘๐ วัน) นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาต หากล่วงเลยกําหนดเวลาดังกล่าวข้างต้นใบอนุญาตนั้นก็จะหมดอายุลง ถ้าท่านยังไม่สามารถที่จะหาซื้ออาวุธปืนหรือรับการโอนอาวุธปืนได้ภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ท่านต้องยื่นเรื่องราวขออนุญาตต่อใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ออกใบอนุญาตนั้น ส่วนขนาดของอาวุธปืนหรือแบบอาวุธปืนที่ท่านจะซื้อหรือรับการโอนนั้นจะต้องเป็นไปตามแบบที่ระบุไว้ในใบอนุญาต (ป.๓) เท่านั้น จะหาซื้อแบบหรือขนาดอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตให้ซื้อแล้วเกิดเปลี่ยนใจหรือชอบแบบของอาวุธปืนแบบอื่นๆ แล้วไปหาซื้ออาวุธปืนตามแบบที่ตนชอบนั้นๆ กระทําไม่ได้ หากท่านฝ่าฝืนดีไม่ดีเมื่อท่านซื้ออาวุธปืนมาแล้วและครอบครองอาวุธปืนมาแล้วและครอบครองอาวุธปืนนั้นอยู่อาจจะทําให้ท่านต้องขึ้นโรงขึ้นศาล เสียเงินเสียทองเสียค่าปรับอะไรอีกจํานวนมาก ยิ่งหากท่านเป็นข้าราชการด้วยแล้วเป็นเรื่องใหญ่ว่างั้นเถอะ... เมื่อท่านซื้ออาวุธปืนมาแล้วท่านจะต้องนําอาวุธปืนนั้นๆ ไปขึ้นทะเบียน (ตอกหมายเลข) ในท้องที่ที่ออกใบอนุญาตให้ท่านซื้อภายในกําหนดเวลา ๒๕ วัน ทั้งนี้เพื่อให้นายทะเบียนท้องที่นั้นๆ ออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.๔) เมื่อท่านได้ดําเนินการครบถ้วนในทุกๆ ขั้นตอนตามที่ผมได้แนะนําแล้วข้างต้น ท่านก็จะเป็นผู้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยถูกต้องตามกฎหมายเอาไว้ใช้ในการพิทักษ์ทรัพย์ส่วนตัวและป้องกันตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นการขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนก็จะอยู่ในดุลยพินิจของนายทะเบียนอาวุธปืนว่าจะอนุญาตให้หรือไม่ ตามเหตุผลที่เห็นสมควร และการอนุญาตก็ไม่ทุกรายไปเห็นไหมครับทางราชการก็จะกลั่นกรองในเรื่องนี้ตามความเหมาะสมเป็นรายๆ ไป ดังนั้นการขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนจะต้องระบุวัตถุประสงค์ในแบบฟอร์ม ป.๑ ดังต่อไปนี้.-
๑. เพื่อไว้ป้องกันตัวเองหรือทรัพย์สิน
๒. เพื่อใช้ในการกีฬาหรือล่าสัตว์ สําหรับความผิดของการมีอาวุธปืนโดยมิได้รับอนุญาตนั้น มีโทษจําคุกตั้งแต่ ๑ ปี ถึง ๑๐ ปี และมีโทษปรับตั้งแต่ ๒,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับแล้วแต่กรณี
ยังมีประชาชนและบุคคลอีกไม่น้อยที่มีความเข้าใจว่า "ตนเองมีอาวุธปืนที่ชํารุดและไม่สามารถที่จะทําการยิงได้ โดยเก็บเอาไว้โชว์เพื่อความสวยงามหรือเก็บไว้เป็นที่ระลึก โดยมิได้ดําเนินการขอใบอนุญาตให้เป็นการถูกต้องนั้นไม่มีความผิด" อย่างนี้ต้องทําความเข้าใจเสียใหม่ว่าถึงแม้จะมีอาวุธปืนที่ชํารุดและไม่สามารถที่จะใช้ทําการยิงได้แล้ว ตามกฎหมายถือว่าเป็นความผิด เพราะเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีทะเบียน เพียงแต่มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตก็มีความผิดแล้ว ไม่จําเป็นต้องคํานึงว่าอาวุธปืนนั้นจะสามารถนํามาใช้งานได้หรือไม่เพียงใด ส่วนการขออนุญาตมีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บไว้ เพื่อเป็นที่ระลึกหรือสะสม  ก็จะต้องดําเนินการยื่นเรื่องราวเช่นเดียวกัน เมื่อท่านได้รับใบอนุญาตแล้ว ท่านจะต้องนําอาวุธปืนนั้นมาเก็บไว้อย่างเดียวเท่านั้น ห้ามมิให้ท่านนําเอาไปทําการยิงหรือพกพาอาวุธปืนนั้นไปในสถานที่ต่างๆ โดยเด็ดขาด ถ้าผู้ใดนําไปยิง จะมีความผิดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน ๑๐ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
สําหรับอาวุธปืนที่อนุญาตให้มีและใช้นั้น เป็นสิทธิ์เฉพาะตัวของผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ไม่สามารถมอบให้ผู้อื่นนําอาวุธปืนนั้นไปครอบครองโดยพลการ หากผู้อื่นนําอาวุธปืนนั้นไปครอบครองแล้ว ไปกระทําความผิด ก็จะต้องมีความผิดเช่นกัน โดยมีโทษสําหรับความผิดคือ จําคุกตั้งแต่ ๖ เดือนถึง ๕ ปี และมีโทษปรับตั้งแต่ ๑,๐๐๐ บาท ถึง ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจําทั้งปรับเกี่ยวกับเรื่องนี้มีตัวอย่างเล่าให้ฟังดังนี้ " นายเทิดศักดิ์มีเพื่อนรักอยู่คนหนึ่งชื่อนายอ๊อดเป็นข้าราชการเหมือนกัน มีอยู่วันหนึ่ง นายอ๊อดต้องเดินทางไปทําธุระที่ต่างจังหวัด บังเอิญวันนั้นอาวะปืนของเขาเกิดขัดข้องใช้งานไม่ได้ จึงได้ออกปากขอยืมอาวุธปืนจากนายเทิดศักดิ์ (ซึ่งมีทะเบียนถูกต้อง) ในตอนนั้นเขาคิดว่าตนเองมีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเป็นสิทธิ์เฉพาะตัวของผู้ที่ได้รับอนุญาตนั้นๆ เราสามารถนําปืนของเพื่อนไปใช้ได้ ซึ่งตัวเองก็มีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนอยู่แล้ว ก็ไม่น่าจะมีความผิด ซึ่งการเข้าใจผิดเช่นนั้นเป็นผลร้ายแก่เขา เพราะเมื่อเจอด่านตรวจของเจ้าหน้าที่ตํารวจเข้าก็เลยโดนจับ ต้องมาเสียเวลากับเรื่องของคดีความแถมเกือบติดคุกซะด้วยซิ..." เห็นไหมครับ... มันยุ่งยากและเสียเวลาขนาดไหน... บางทีหรือบางครั้งศาลท่านอาจจะปรานีให้สําหรับโทษจําคุกให้รอลงอาญา (รอลงโทษไว้ก่อน) คงเหลือแต่โทษปรับสถานเดียว
สําหรับการครอบครองอาวุธปืนของผู้อื่นก็ไม่เป็นความผิดเสมอไป ตามกฎหมายแล้วการครอบครองอาวุธปืนของผู้อื่นที่ไม่เป็นความผิดมีอยู่ ๓ กรณีคือ.-
๑. ผู้ที่ครอบครองอาวุธปืนที่ถูกด้วยกฎหมาย (มีใบอนุญาต) มีใบ ป.๔ ว่างั้นเถอะ... ของผู้อื่นเท่าที่จําเป็นเพื่อรักษาอาวุธนั้นมิให้สูญหาย และผู้ครอบครองนั้นจะต้องมีคุณสมบัติที่จะมีและใช้อาวุธปืนได้ เช่น ร.ต.ฉลาด ยิงปืนฉมัง อายุ ๒๔ ปี เก็บอาวุธปืนมีทะเบียนกระบอกหนึ่ง และตั้งใจจะไปมอบให้นายทะเบียนแต่บังเอิญถูกจับกุม อย่างนี้ไม่มีความผิด
๒. อาวุธปืนของทางราชการทหาร ตํารวจ และหน่วยงานของทางราชการ ตลอดจนภาครัฐวิสาหกิจ
๓. อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนประจําเรือ และอากาศยาน ฯลฯ ซึ่งได้รับการยกเว้นตามบทกระทรวงฯ
การออกใบอนุญาตในการพกพาอาวุธปืนติดตัว ปกติแล้วผู้ที่มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง ไม่สามารถที่จะพกพาอาวุธปืนที่ครอบครองไปในสถานที่ต่างๆ ได้ นอกจากจะมีใบอนุญาตพกพาอาวุธปืน (ป.๑๒) ผู้ออกใบอนุญาตพกพาอาวุธปืนในกรุงเทพมหานครได้แก่ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ส่วนในท้องที่ ณ ต่างจังหวัดได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดและพกพาอาวุธปืนได้เฉพาะในพื้นที่จังหวัดนั้นเท่านั้น หากผู้ใดพกพาอาวุธปืนไปในสถานที่ต่างๆ โดยไม่มีใบอนุญาตแล้วย่อมมีความผิดแน่นอน ความผิดเกี่ยวกับการพกพาอาวุธปืนติดตัวมี ๒ ฐานคือ
๑. พกพาอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวตามกฎหมายท่านกําหนดไว้ว่า ผู้ใดกระทําความผิดต้องระวางโทษจําคุก ไม่เกิน ๕ ปี หรือโทษปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท และอาจริบอาวุธปืนได้หากเป็นอาวุธปืนเถื่อน แต่สําหรับความผิดนี้ยังมีข้อยกเว้นไม่เป็นความผิดคือ จะต้องมีเหตุจําเป็นและเร่งด่วนจริงๆ เช่น ถืออาวุธปืนวิ่งไล่ตามคนร้าย หรือพนักงานผู้มีหน้าที่ตามสถานการณ์บ้านเมือง
๒. พกพาอาวุธปืนโดยเปิดเผยหรือพกพาไปในชุมนุมชนที่จัดให้มีการแสดงหรืองานแสดงมหรสพ กรณีเช่นนี้ห้ามโดยเด็ดขาดไม้ให้พกพาอาวุธปืนแม้มีใบอนุญาต เป็นความผิดทั้งนั้นโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะได้รับอนุญาตหรือไม่เพียงใด... มีความผิดเช่นเดียวกัน...ครับผม

 


จําหน่ายอาวุธปืนนอกแท้นําเข้า.com | ขายปืนมือสอง | ขายปืนหลุดจำนำ | ขายปืนนอกแท้ | ขายปืนทุกประเภท
พูดคุย-สอบถาม คลิก